พื้นที่อำเภอยะหาส่วนใหญ่เป็นที่ราบ และมีภูเขาล้อมรอบ เป็นพื้นที่ที่เหมาะสมในการเพาะปลูก มีน้ำจากน้ำตกไหลผ่านหมู่บ้าน ทำให้พื้นที่แห่งนี้มีความชุ่มชื้นตลอดทั้งปี ลักษณะอากาศแบบร้อนชื้น เหมาะแก่ การเพาะปลูก ประชาชนมีอาชีพทำสวนยาง และสวนผลไม้เป็นส่วนใหญ่ เมื่อปี 2561 ได้รับการสนับสนุนจากกรมส่งเสริมการเกษตรโดยเฉพาะ สำนักงานเกษตรอำเภอยะหา ให้มีการรวมกลุ่มแปลงใหญ่ทุเรียนตำบลตาชี ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งหมด จำนวน 44 ราย พื้นที่การปลูกจำนวน 269 ไร่ ผลผลิตที่ได้ทั้งหมด 326 ตัน ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP จำนวน 42 ราย
นายอนุชา จูวัตร์ เกษตรอำเภอยะหาจังหวัดยะลา เปิดเผยว่า สำนักงานเกษตรอำเภอยะหา ได้สนับสนุนให้เกษตรกรรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นแปลงใหญ่ทุเรียนตำบลตาชี อำเภอยะหา จังหวัดยะลา ซึ่งมีการวางระบบการผลิตและการบริหารจัดการในแนวทางเดียวกัน เพื่อประหยัดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยเน้นการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ตามนโยบายการตลาดนำการผลิต สร้างเสถียรภาพของราคาสินค้าเกษตรได้อย่างมั่นคงในอนาคต ในการดำเนินงานในลักษณะบูรณาการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมๆไปกับการร่วมมือร่วมใจของเกษตรกรที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มการผลิต มีผู้จัดการแปลงเป็นผู้บริหารจัดการพื้นที่ ในทุกกิจกรรมตลอดห่วงโซ่อุปทาน ในการจัดการส่งเสริมตามระบบการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เน้นการมีส่วนร่วม
ของสมาชิกใน กลุ่มให้ความสำคัญกับสมาชิกทุกคน โดยจัดการประชุมอย่างต่อเนื่อง เพื่อทราบถึงปัญหา และร่วมกันแก้ไข มีการถ่ายทอดความรู้ในการดูแลสวนทุเรียน โดยมีแปลงต้นแบบของประธานกลุ่มเป็นแหล่งเรียนรู้การจัดการ สวนทุเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างความเข้าใจ ความสามัคคีภายในกลุ่ม และทางกลุ่มได้กำหนด ระเบียบ และกฎเกณฑ์ของกลุ่มด้วย กลุ่มได้มีการขับเคลื่อนการทำงานแบบบูรณาการร่วมกันระหว่าง 2 เครือข่ายให้เป็นรูปธรรม อีกทั้งยังเป็นสถานที่จัดงาน ถ่ายทอดความรู้เพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิต Field Day ปี 2565
นอกจากนี้ทางกลุ่มมีเป้าหมายอย่างชัดเจนตามระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่โดยตั้งเป้าหมายและแผนปฏิบัติงาน 5 ด้าน 1. การลดต้นทุนการผลิต เกษตรกรที่เป็นสมาชิกแปลงใหญ่ ร้อยละ 60 มีการลดต้นทุนการ ผลิต ได้มากกว่าร้อยละ 20 จากการนำความรู้ด้านพืช ไปใช้ในแปลงของตนเอง ด้านพืชโดยการผสมปุ๋ยเคมีใช้ เองตามค่าวิเคราะห์ดิน ใช้ปุ๋ยตรงตามระยะการพัฒนาของพืช ในปริมาณที่พืชต้องการ ผลิตน้ำหมักชีวภาพ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ สูตรของ พด.ได้เอง เพื่อใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมี ใช้สารสกัดชีวภาพป้องกัน กำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช เช่น สารสะเดา เชื้อราไตรโคเดอร์ม่า 2. การเพิ่มผลผลิต เกษตรกรที่เป็นสมาชิกแปลงใหญ่ร้อยละ 60 สามารถผลิตสินค้าได้ เพิ่มขึ้นมากกกว่าร้อยละ 20 จากการได้รับการถ่ายทอดความรู้ทั้งการผลิตพืช โดยเฉพาะเรื่องการจัดการสวน ที่ดี การดูแลรักษาตามปฏิทินการผลิตพืช ใช้ปุ๋ยถูกต้องเหมาะสม การปรับปรุงระบบน้ำให้สามารถใช้ได้ตลอด ฤดูกาลผลิต การจัดการโรคและแมลงโดยวิธีผสมผสาน สมาชิกสามารถนำกลับไปปฏิบัติได้จริง ข้อมูลในระบบ https://cofarm.doae.go.th แปลงใหญ่ทุเรียนตำบลตาชีอำเภอยะหา 3. การพัฒนาคุณภาพ สมาชิกแปลงใหญ่ทุเรียนตำบลตาชี ได้รับการรับรองมาตรฐานสินค้า เกษตร GAP ครบทุกราย เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค สามารถตรวจสอบย้อนกลับสินค้า ของเกษตรกรทุกราย เกษตรกรผ่านการอบรมและผ่านการตรวจประเมินแปลงเบื้องต้นเพื่อขอรับรองแปลง GAP ทุเรียนครบทุกราย การสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้า โดยการปรับปรุงคุณภาพผลผลิต และให้การสนับสนุน ปัจจัยต่างๆ ที่จำเป็นในการดำเนินงานเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มในตัวสินค้า ทำให้ผลผลิตมีมูลค่าเพิ่มขึ้น สามารถ รวบรวมผลผลิตจากสมาชิกส่งตลาดออนไลน์ Facebook ล้ง พ่อค้าในพื้นที่ โรงงาน พ่อค้าคนกลาง สกต. วิสาหกิจชุมชน มีแบรนด์ มีกล่องบรรจุสินค้า และมีการแปรรูปสินค้าทุเรียนเป็นทุเรียนทอด ทุเรียนกวน ทุเรียนเชื่อม 4. การตลาด สามารถรวบรวมผลผลิตจากสมาชิกส่งตลาดผู้บริโภคโดยตรง และศูนย์คัดแยก ไม้ผล โดยกลุ่มสามารถกำหนดเป้าหมายและแผนปฏิบัติการ รวมทั้งการจัดทำแผนธุรกิจของกลุ่มที่ชัดเจน และ 5. การบริหารจัดการ มีกระบวนการกลุ่มที่เข้มแข็งมีการจัดตั้งเป็นกลุ่ม “วิสาหกิจชุมชน แปลงใหญ่ทุเรียนตำบลตาชี” โดยประธานแปลงใหญ่และคณะกรรมการมีความเข้มแข็งในการบริหารจัดการ และสามารถถ่ายทอดความรู้ได้เป็นอย่างดีรวมทั้งมีศูนย์จัดการดินและปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) และศูนย์จัดการ ศัตรูพืชชุมชน (ศจช.)
นายอนุชา จูวัตร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กลุ่มแปลงใหญ่ได้นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ โดยการยกโคกปลูกทุเรียน เพื่อป้องกันโรครากเน่าโคนเน่าจากฝนที่ตกลงมา อาจนำเชื้อโรคราก เน่าโคนเน่า ไหลมากับน้ำมายังโคนต้นทุเรียน จึงยกโคกเพื่อไม่ให้น้ำมาท่วมขังบริเวณต้นทุเรียน ได้จัดทำระบบน้ำอัจฉริยะ (Handy Sense) ซึ่งน้ำและสภาพอากาศ เป็นปัจจัยสำคัญของการปลูกทุเรียน แหล่งน้ำต้องดี ปริมาณน้ำต้องมาก พอ เพราะทุเรียนขาดน้ำไม่ได้ในทุกระยะ โดยเฉพาะช่วงติดดอกติดผล การได้ทดลองใช้เทคโนโลยีระบบ ควบคุมการให้น้ำอัตโนมัติฯ ซึ่งใช้ระบบเซนเซอร์ตรวจวัดค่าความชื้นในดิน ความชื้นอากาศ แสดงค่าตัวเลข เพื่อการบริหารจัดการแปลงทุเรียน โดยเฉพาะการให้น้ำตามความต้องการของต้นทุเรียนในช่วงเจริญเติบโต ช่วงติดดอก และช่วงติดผล ช่วยให้ลดปัญหาการให้น้ำที่มากเกินไป ลดต้นทุนแรงงาน และควบคุมผลผลิตไม้ผล ให้มีคุณภาพ นอกจากนี้ยังมีการรเพิ่มช่องทาง และโอกาสทางการค้า ผ่านระบบ e-commerce การเพิ่มช่องทางการบริโภคทุเรียนโดยตรงจากสวนสู่ผู้บริโภค เพื่อให้ได้รับประทานทุเรียน คุณภาพที่เจ้าของสวนเลือกเองกับมือ ผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ เช่น Facebook Line ทำให้สมาชิกสามารถ จำหน่ายทุเรียนในราคาที่สูงขึ้น รวมไปถึงการแปรรูปผลผลิต สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตอีกด้วย