นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า ลำไยเป็นไม้ผลกึ่งร้อนที่ต้องการอากาศหนาวเย็นเพื่อชักนาให้ออกดอก ทำให้ช่วงเวลาและปริมาณการออกดอกของลำไยไม่มีความแน่นอน ต่อมาในปี 2541 มีเทคโนโลยีใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตชักนำให้ลำไยออกดอกได้ ทำให้เกษตรกรขยายพื้นที่ปลูกลำไยอย่างต่อเนื่องจากประมาณ 400,000 ไร่ เพิ่มเป็นประมาณ 1,000,000 ไร่ในปี 2556 ประกอบกับนิยมปลูกพันธุ์อีดอมากถึงร้อยละ 80 ผลผลิตจึงออกสู่ตลาดพร้อมกันในเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม ทาให้ผลผลิตในฤดูล้นตลาดและราคาตกต่ำ
ปัจจุบันมีเกษตรกรที่ผลิตลำไยทั้งนอกฤดูและในฤดูใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตชักนำให้ออกดอกกันอย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตามสารโพแทสเซียมคลอเรตเป็นวัตถุอันตรายชนิดระเบิด ตาม พรบ. ยุทธภัณฑ์ ปี พ.ศ. 2530 กำหนดให้การผลิต นำเข้าและมีไว้ในครอบครองจำเป็นต้องขออนุญาตจากกระทรวงกลาโหม ประกอบกับได้มีโศกนาฏกรรมสารโพแทสเซียมคลอเรตระเบิดในจังหวัดเชียงใหม่เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2557 ที่ผ่านมา เป็นผลให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจานวนหนึ่ง ดังนั้นจึงเห็นควรให้เกษตรกรและผู้ประกอบการมีความรู้เพิ่มเติมในการใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย
สารโพแทสเซียมคลอเรตมีชื่อสามัญว่า คลอเรตโพแทสหรือโพแทสเซียมออกซีมูเรต เป็นผลึกใสหรือเป็นผงสีขาว ไม่มีกลิ่น มีรสเค็ม ละลายน้ำได้ 7.1 กรัมต่อน้า 100 มิลลิลิตร แต่ละลายได้ดีในสารละลายอื่น เช่น แอลกอฮอล์ อัลคาไลน์และกลีเซอรอล จุดเดือด 400 องศาเซลเซียส จุดหลอมเหลว 368 องศาเซลเซียส น้าหนักโมเลกุล 122.55 ค่าความถ่วงจาเพาะ 2.32 อาจติดไฟและระเบิดได้เมื่อรับความร้อนเกิน 400 องศาเซลเซียสหรือผสมกับกรดกามะถัน ค่าความเป็นพิษ (ค่า LD50) ต่อหนู 1,870 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เดิมใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตวัตถุระเบิด พลุและไม้ขีดไฟ
การใช้สารโพแทสเซียมคลอเรตเป็นวัตถุอันตรายชนิดวัตถุระเบิด จึงควรซื้อมาในปริมาณที่พอดีใช้ไม่เหลือเก็บไว้ หากเก็บรักษาไว้ให้วางห่างจากวัตถุไวไฟหรือประกายไฟ ไม่ควรทุบ บด กระแทกหรือทาให้เกิดการเสียดสีเพราะจะทาให้ระเบิดได้ ต้องไม่ผสมสารอื่นใด เช่น กามะถัน ผงถ่าน ขี้เลื่อย ปุ๋ยคอก ปุ๋ยยูเรีย น้ำตาลทราย สารฆ่าแมลง อาหารสัตว์ น้ามันเชื้อเพลิง ผ้า กระดาษ เศษไม้แห้ง สารกลุ่มซัลเฟตและเกลือแอมโมเนียเกือบทุกชนิด เช่น แอมโมเนียมซัลเฟต เพราะเมื่อได้รับความร้อนอาจทาให้เกิดการลุกไหม้หรือระเบิดได้
ขั้นตอนกระบวนการที่สำคัญในการใช้สารเกษตรกรจะต้องเตรียมความพร้อมต้นลำไยเป็นการทำให้ต้นแตกใบหรือกิ่งใหม่หลังเก็บเกี่ยวผลแล้ว เพื่อฟื้นฟูและเพิ่มความสมบูรณ์ต้นให้พร้อมที่จะออกดอกติดผลหลังใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต โดยตัดแต่งกิ่งแบบเปิดกลางทรงพุ่มหรือแบบฝาชีหงาย ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักอัตรา 10-20 กิโลกรัมต่อต้น พร้อมทั้งใส่ปุ๋ยเคมีที่มีไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม อัตราส่วน 4:1:3 ให้น้าอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ และป้องกันกาจัดแมลงศัตรูพืชที่กัดกินใบอ่อน เช่น หนอนคืบกินใบและแมลงค่อมทอง รวมทั้งควรมีแหล่งน้ำในสวนที่เพียงพอต่อการผลิตลำไยนอกฤดู
การใช้สารโพแทสเซียมคลอเรต เกษตรกรสามารถใช้ได้ทั้งสองวิธีทั้งวิธีการราดลงดินและการพ่นทางใบ วิธีราดลงดิน ให้เลือกต้นที่สมบูรณ์ แตกใบใหม่แล้ว 1-2 ชุด ใบควรอยู่ในระยะใบแก่หรือใบเพสลาดขึ้นไป ควรงดหรือลดการให้น้ำลง ทำความสะอาดในบริเวณทรงพุ่มโดยกาจัดวัชพืชและกวาดวัสดุคลุมดินออกไปจากโคนต้น ดินไม่ควรแฉะหรือแห้งจนเกินไป อัตราการใช้ขึ้นอยู่กับสารออกฤทธิ์ ชนิดดินและขนาดทรงพุ่ม อัตราแนะนำสำหรับสารที่มีสารออกฤทธิ์ไม่ต่ำกว่า 95% คือ ฤดูแล้งใช้อัตรา 60-80 กรัม /เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร ฤดูฝนใช้อัตรา 100-150 กรัม/เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร อัตราแนะนำสำหรับสารที่มีสารออกฤทธิ์ต่ำกว่า 15% คือ อัตรา 600-900 กรัม/เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 1 เมตร ละลายสารที่ใช้ในน้ำปริมาณ 60-80 ลิตร แล้วราดเป็นวงรอบชายพุ่มเข้ามา 50-100 เซนติเมตร ในช่วง 10 วันแรกหลังราดสารควรรดน้ำให้ดินชุ่มชื้นอยู่เสมอ หลังจากราดสาร 20-30 วันจะเริ่มออกดอก หากเป็นไปได้ควรราดสารสลับต้นหรือพักต้นปีเว้นปี
ส่วนวิธีพ่นทางใบนั้น ให้เลือกต้นเช่นเดียวกับวิธีการราดสารลงดิน อัตราแนะนำสำหรับสารที่มีเนื้อสารไม่ต่ำกว่า 95% คือ ใช้อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หากใช้อัตราสูงเกินไปอาจทำให้ใบไหม้และใบร่วงได้ ควรพ่นในตอนเช้าหรืออากาศไม่ร้อน ควรพ่นสารซ้ำหากมีฝนตกใน 1-2 วัน หลังพ่นสาร 25-30 วันจะเริ่มออกดอก
หลังจากที่ราดสารโพแทสเซียมคลอเรตแล้วเกษตรกรจะต้องดูแลรักษาต้นลำไยดังนี้ ใส่ปุ๋ยให้สอดคล้องกับค่าวิเคราะห์ดินและความต้องการของลำไย หรือระยะผลเจริญเติบโตใส่ปุ๋ยเคมี 15- 5-20 อัตรา 1-2 กิโลกรัม/ต้น และก่อนเก็บเกี่ยวผล 30-45 วัน ใส่ปุ๋ยเคมี 0-0-60 อัตรา 1 กิโลกรัม/ต้น เริ่มให้น้ำสัปดาห์ละ 1 ครั้งหลังดอกบานและเพิ่มเป็นสัปดาห์ละ 2 ครั้งหลังติดผลแล้ว ให้น้ำ ครั้งละ 150-300 ลิตรต่อต้น หากติดผลมากเกินไป เมื่อผลอายุ 1 เดือนหรือมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5 เซนติเมตร ควรตัดปลายช่อผลออก 1/3 ของความยาวช่อผลหรือให้มีผลไม่เกิน 50 ผลต่อช่อ ที่สำคัญควรสำรวจการระบาดและป้องกันกาจัดแมลง-โรคที่สำคัญ เช่น โรคราน้ำฝนและโรคผลเน่า โรคพุ่มไม้กวาด หนอนชักใยกินดอก หนอนเจาะผลมวนลำไย ผีเสื้อมวนหวาน เพลี้ยหอยและเพลี้ยแป้ง ตามคำแนะนำในคู่มือระบบ
อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรกล่าวย้ำว่า การใช้สารโพแตสเซียมคลอเรต จะต้องมีความระมัดระวัง มีภาชนะบรรจุสารต้องมีฝาปิดมิดชิด เก็บไว้ในอาคารที่มีการถ่ายเทอากาศที่ดีและต้องมีพื้นที่ว่างเหลือไว้ สวมถุงมือยาง หมวก แว่นตาชนิดที่กระชับลูกตา ชุดป้องกันสารเคมี และรองเท้าบู๊ตที่มิดชิด ห้ามสูบบุหรี่หรือรับประทานอาหารขณะใช้สาร ระวังมิให้สารสัมผัสกับผิวหนังหรืออวัยวะต่าง ๆ โดยตรง หลังใช้สารแล้วต้องทาความสะอาดร่างกายด้วยน้าสะอาดทุกครั้ง ระวังสัตว์เลี้ยง เช่น วัวและควายไม่ให้มากินหญ้าบริเวณที่ใช้สาร
สารโพแทสเซียมคลอเรตอาจทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังและตา คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ตัวซีดหรือเขียว ทำลายเม็ดเลือดแดง เป็นอันตรายต่อไตและกล้ามเนื้อหัวใจ หากผู้ใหญ่ได้รับสารในปริมาณ 15-30 กรัมและเด็กได้รับปริมาณ 7 กรัมทำให้เสียชีวิตได้ หากได้รับสารดังกล่าวควรปฏิบัติดังนี้ หากสารสัมผัสผิวหนังหรือเข้าตา ให้ล้างด้วยน้ำสะอาดต่อเนื่องประมาณ 15 นาที หากหายใจเอาก๊าซพิษให้ย้ายผู้ป่วยไปที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก และนำส่งแพทย์ทันที หากกลืนสารเข้าไปรีบทำให้อาเจียน ดื่มน้ำหรือนมมาก ๆ และนำส่งแพทย์ทันที ทำให้ร่างกายผู้ป่วยอบอุ่น และอยู่นิ่ง ๆ จนอาการเขียวค่อย ๆ ลดลง และหากผู้ป่วยหมดสติ ห้ามปฐมพยาบาลโดยวิธีผายปอดแบบปากต่อปาก
“การเก็บรักษาสารโพแตสเซียมคลอเรต เกษตรกรควรซื้อมาให้พอดีกับปริมาณที่ใช้ หากจำเป็นต้องเก็บรักษาต้องระมัดระวังไม่ให้สัมผัสหรือใกล้กับอินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยยูเรียและผงถ่าน เก็บให้พ้นจากมือเด็ก สถานที่เก็บควรเย็น แห้ง อากาศถ่ายเทได้ดีและมีพื้นที่ว่างรอบๆ” อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรกล่าวทิ้งท้าย