เตรียมพลิกโฉมระบบส่งเสริมการเกษตร วางเป้าปี 68 สู่ Net Zero Emissions

กรมส่งเสริมการเกษตรได้วางเป้าหมายเพื่อจัดทำโครงการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยให้ทุกหน่วยงานในสังกัดวิเคราะห์กระบวนการทำงาน End to End Process ผ่าน IPOO MODEL (Input Process Output Outcome)
โดยมุ่งเป้าผลลัพธ์ที่ต้องมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์การดำเนินงาน (Outcome) ในทุกกิจกรรมของในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ดังนี้
1. ปรับเพิ่มผลิตภาพการผลิตภาคเกษตร (Improved Productivity) เพื่อสร้างโอกาสของปัจจัยการผลิตให้เพิ่มมูลค่า
ต่อหน่วยเพิ่มขึ้น
2. ตอบโจทย์รายได้ และกำไรสุทธิ ตลอดทั้งปีที่เพียงพอกับรายจ่ายครัวเรือนเกษตรกรที่เพิ่มขึ้น (Revenues and Net Profit)
3. มุ่งสู่การจัดการแปลง/ฟาร์มเพื่ออธิบายคาร์บอนฟุตปริ้นท์ และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Carbon Footprint and Emission Gas Reduction)
4. การปรับโครงสร้างการผลิตสู่ตลาดมูลค่าสูง เพื่อยกระดับมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคเกษตร (Restructure Agriculture to Hight Value Production)เช่น พืชโปรตีนสูง Plant Base (ถั่ว ผัก) พืชทดแทนการนำเข้า (ข้าวโพด กาแฟ มันฝรั่ง ฯ) Export Oriented (กล้วยหอม มันสำปะหลัง ทุเรียน ฯลฯ)
5. มุ่งเป้าหมายเพื่อการเติบโตของ GDP growth

การวางกระบวนการทำงานผ่านการขับเคลื่อนกิจกรรม ดังนี้
1. การอบรมเพิ่ม 5 ทักษะ ให้กับเกษตรกร และ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร (Growth Mindset & Anti Fragile, Learning Skills, Financial Literacy, Digital Literacy, ESG Literacy)
2. การจัดตั้ง Academy of Agriculture Science and Technology โดยศูนย์ปฏิบัติการกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อฝึกทักษะความสามารถในการต้านทานความเปราะบาง (Antifragile) การฝึกปฏิบัติในแปลง เน้นวิชาการ พืชศาสตร์ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีหมุนเวียน และเทคโนโลยีดิจิทัล
3. การส่งต่อข้อมูลให้เกษตรกรผ่านแอปพลิเคชั่น Farmbook เช่น แนวโน้มความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจเกษตร ด้านภูมิอากาศ ด้านโรค แมลง ศัตรูพืช เป็นต้น
4. สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลความเสี่ยงด้านต่างๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สังคมเกษตรกรรม ผ่านกระบวนการเรียนรู้ของเครือข่ายเกษตรกร เช่น อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) ศูนย์เรียนรู้
การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ระบบส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่
5. การจัดทำแปลง/ฟาร์มเกษตร เพื่อทดสอบทางด้านเทคโนโลยีและเศรษฐศาสตร์ (Climate Smart and Regenerative Agriculture Economics)  โดยจะต้องบูรณาการทำงานร่วมกัน ใช้เทคโนโลยีเพื่อให้เกิดความแม่นยำ
ในมิติต่าง ๆ เช่น สมุนไพร ต้องผลิตเกิดสารสกัดสำคัญสูงเพื่อสินค้าเภสัชกรรม โดยเฉพาะขมิ้นชัน กระชายดำ พริก
กระเพรา กระเทียม เป็นต้น

  1. ปรับโครงสร้างการผลิตสู่การขับเคลื่อนเกษตรมูลค่าสูงเพื่อยกระดับ GDP เกษตร โดยการประเมิน วิเคราะห์
    ความได้เปรียบในการแข่งขันและส่งเสริมกลุ่มสินค้าที่ผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า กลุ่มสินค้าเพื่อการส่งออก
    กลุ่ม Future Food เช่น Plant Base Food เพื่อสร้าง New S Curve  for Generate GDP
  2. การส่งเสริมให้เกิดการริเริ่มกิจกรรมและรูปแบบด้านการตลาด (Market Initiative Study and Management) เช่น ศึกษา ทดสอบ รูปแบบตลาด และการตลาดสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ (OEM Platforms and Marketing) และ ศึกษาทดสอบ/วิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของสินค้าเกษตร และให้มีความรู้ทางโภชนาการ เพื่อสร้าง
    สุขภาวะที่ดีและส่งเสริมสินค้าเกษตรเพื่อสุขภาพ เริ่มที่ไม้ผลอัตลักษณ์และกลุ่ม Plant Base Food
  3. ระบบเฝ้าระวังและสำรวจโรคพืชและศัตรูพืชสำคัญ Plant Diseases Active Surveillance and Controls
    โดยให้ครอบคลุมทุกมิติ ทั้งการจัดทำระบบจัดเก็บข้อมูลแปลงสำรวจศัตรูพืช เพื่อป้องกันความเสียหาย
    ที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ การสอบทานประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และการทดสอบเทคโนโลยี
  4. การขับเคลื่อนให้เกิดความเคลื่อนไหวทางสังคม ให้ร่วมมือดำเนินกิจกรรมการผลิตการบริโภคที่สร้างโอกาส
    ในอนาคตที่ดีกว่า เกิดประโยชน์สาธารณะ ที่มิได้คำนึงเพียงกาลปัจจุบัน (Social Movement)


10. มีข้อมูลเพื่อให้สามารถสอบทานและตรวจสอบย้อนกลับได้อย่างสม่ำเสมอ (Data Feedback) เช่น มีแผนบริหาร
ความเสี่ยงองค์กร รวมถึงแผนและผลควบคุมภายใน
11. การก้าวเข้าสู่วัฒนธรรมองค์กรยุคใหม่ Digital Organization and Services รวมถึงต้องสร้างความผูกพันภายในองค์กรให้มากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง
12. Work-Life Harmony and Balance พัฒนาของคนในองค์กรให้มีความสามารถพึงประสงค์ รวมทั้งการดำเนินการยังต้องมีการจัดการกับระบบการวัดผลและให้รางวัลที่สอดคล้องกับโครงสร้างคุณค่าและโครงสร้างองค์กร ซึ่งอาจต้องมีการปรับเปลี่ยนให้ยืดหยุ่นมากขึ้น และสิ่งสำคัญคือการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกถึงคุณค่าที่องค์กรยึดถือและปฏิบัติ เพื่อให้เกิดเป็นคุณค่าร่วม

ซึ่งอาจต้องมีการปรับเปลี่ยนให้ยืดหยุ่นมากขึ้น รวมถึงต้องสร้างความผูกพันภายในองค์กรให้มากขึ้น เพื่อให้สอดคล้อง
กับการเปลี่ยนแปลง และสิ่งสำคัญคือการสื่อสารทั้งภายในและภายนอกถึงคุณค่าที่องค์กรยึดถือและปฏิบัติ เพื่อให้เกิดเป็นคุณค่าร่วม