เมื่อเข้าสู่ช่วงสิงหาคมเป็นช่วงเทศกาลที่ต่างนึกถึงดอกมะลิ ดอกไม้ประจําวันแม่ ตัวแทนของความรัก และความกตัญญู เนื่องจากดอกมะลิ ถือเป็นสัญลักษณ์ของความรัก ความกตัญญู และความปรารถนาดี นอกจากนี้ ยังเป็นโอกาสทองของเกษตรกรชาวสวนมะลิทขี่ายได้ราคาดี
นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ปัจจุบันพื้นที่ปลูกดอกมะลิในประเทศ ประมาณ 2,200 ไร่ แหล่งผลิตที่สําคัญ ได้แก่ จังหวัดนครปฐม นครสวรรค์ พิจิตร ปทุมธานี และจังหวัดสมุทรสาคร มีปริมาณผลผลิตเฉลี่ย 850 – 1,100 กิโลกรัม/ไร่ ราคาขายในปี 2566/67 ช่วงระหว่างเดือนมีนาคม – เดือน กรกฎาคม และเดือนกันยายน – เดือนตุลาคม เฉลี่ยอยู่ที่ 250 – 700 บาท/กิโลกรัม และราคาขายมีการปรับตัว สูงขึ้นในเดือนสิงหาคม และระหว่างเดือนพฤศจิกายน – เดือนกุมภาพันธ์ เฉลี่ยอยู่ที่ 700 – 1,500 บาท/กิโลกรัม
สําหรับสายพันธุ์มะลิที่นิยมปลูกเป็นการค้ามะลิที่นิยมปลูกเพื่อใช้สําหรับเป็นการค้าโดยส่วนใหญ่ ได้แก่ มะลิลา ซึ่งมะลิลา จะมี 3 สายพันธุ์ที่เป็นพันธุ์ส่งเสริม ได้แก่ พันธุ์เเม่กลอง มีลักษณะทรงพุ่มใหญ่ หนาเเละเเน่นทึบ เจริญเติบโตเร็ว ดอกใหญ่กลมเเละมีช่อดอก 1 ชุด ชุดละ 3 ดอก พันธุ์ราษฎ์บูรณะ ลักษณะ ทรงพุ่มเล็กกว่าพันธุ์แม่กลองเเละค่อนข้างทึบ ใบเล็กกว่า ดอกเล็กเรียวเเหลมเเละมีช่อดอก 1-2 ชุด ชุดละ 3 ดอก เเละให้ผลผลิตค่อนข้างสม่ําเสมอ และพันธุ์ชุมพร มีลักษณะคล้ายพันธุ์ราษฎ์บูรณะ เเต่ทรงพุ่มโปร่งกว่าเล็กน้อย ใบคล้ายพันธุ์ราษฎณ์บูรณะเเต่เรียวกว่า สี มีดอกมากกว่า 2 ชุด ชุดละ 3 ดอก เเละให้ผลผลิตปริมาณมาก แต่ไม่สม่ําเสมอ
อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมส่งเสริมการเกษตรเล็งเห็นความสาคัญของดอกมะลิ ที่มีเป็นดอกไม้แห่งคุณค่า เพื่อสร้างโอกาสด้านรายได้ให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกดอกมะลิ จึงได้ส่งเสริมเกษตรกรสามารถปลูกมะลิให้เก็บขายได้ตลอดทั้งปี ซึ่งเกษตรกรควรมีการวางผังเเปลงเเละการเตรียมพื้นที่ให้ เหมาะสม การตัดเเต่งกิ่งหลังจากเก็บเกี่ยว ซึ่งโดยส่วนมากหลังจากปลูกมะลิเป็นเวลานาน มะลิจะเเตกกิ่งก้าน สาขามากมาย ควรตัดเเต่งทรงพุ่มให้โปร่ง รวมทั้งตัดแต่งกิ่ง จะช่วยให้มะลิมีทรงพุ่มที่สวยงามโรคเเละเเมลง ลดน้อยลง ต้นมะลิมีอายุยืนยาวขึ้น และทําให้เกษตรมีความสะดวกง่ายต่อการปฎิบัติงาน นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้ เกษตรกรในการใช้ระบบน้้าหยด เนื่องจากมะลิเป็นพืชที่ต้องการน้ําพอสมควร จึงควรให้ต้นมะลิได้รับน้ํา อย่างสม่ําเสมอ และไม่ควรให้น้ํามากเกินไป ทั้งนี้การให้น้ําขึ้นอยู่กับสภาพของดิน การให้น้ําโดยระบบน้ําหยด เป็นวิธีการที่เหมาะสมต่อการให้น้ําในต้นมะลิเนื่องจากเป็นระบบที่สามารถให้น้ํามะลิได้อย่างสม่ําเสมอ เเละเหมาะ สําหรับพื้นที่ที่มีปริมาณน้ําไม่มาก นอกจากนี้ยังสามารถติดตั้งระบบการให้ปุ๋ยผ่านระบบน้้า สําหรับวิธีการให้ปุ๋ย ผ่านระบบน้ําเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ลดการใช้เเรงงานคน โดยสูตรปุ๋ยที่เหมาะสมต่อต้นมะลิคือปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือปุ๋ย สูตร 16-16-16 ซึ่งอัตราการใส่ปุ๋ยขึ้นอยู่กับความกว้างของทรงพุ่มโดยใส่ปุ๋ย รวมถึงการฉีดพ่นบิ๊กทางใบ อัตรา 2 ซี ซี ต่อน้ํา 1 ลิตร ฉีดพ่นทางใบทุก 7-10 วัน เพื่อช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต ทําให้ ต้น ใบ ดอก สมบูรณ์ เเละส่งเสริมการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับพืชทําให้พืชทนต่อสภาวะเเวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น อากาศร้อนจัด ทําให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ
ทั้งนี้ ในปี 2568 กรมส่งเสริมการเกษตรมีการกําหนดแนวทางการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพดอกมะลิ พร้อมพัฒนาและส่งเสริมเทคโนโลยีการผลิตมะลิให้ได้คุณภาพ ปริมาณตรงตามความต้องการของตลาดสอดคล้อง กับนโยบาย ตลาดนํา นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์