กรมส่งเสริมการเกษตร ห่วงใยเกษตรกรจากผลกระทบโนรู พร้อมช่วยทุกพื้นที่

      นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความห่วงใยพี่น้องเกษตรกร กำชับกรมส่งเสริมการเกษตรเตรียมความพร้อมรับมือช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ให้ทันเวลา ตามความต้องการของเกษตรกร และความเหมาะสมของพื้นที่เกษตร ซึ่งจากสถานการณ์พายุดีเปรสชันโนรู ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งได้พัดปกคลุมทะเลอันดามันภาคใต้ และอ่าวไทย จึงยังส่งผลให้มีฝนตกหนัก และฝนที่ตกสะสม เกิดน้ำท่วม น้ำป่าไหลหลากได้ ซึ่งขณะนี้ (ข้อมูล วันที่ 29 กันยายน 2565) พื้นที่เกษตรที่ได้รับผลกระทบ มีจำนวน 41 จังหวัด ทุกภูมิภาค เกษตรกรได้รับผลกระทบ จำนวน 112,388 ราย มีพื้นที่การเกษตรคาดว่าจะเสียหายจำนวน 736,818 ไร่ แยกเป็นข้าว 666,839.50 ไร่ พืชไร่ละพืชผัก 65,119.75 ไร่ ไม้ผลไม้ยืนต้นและอื่นๆ 4,858.75 ไร่

      ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการเกษตรได้เตรียมความพร้อมรับมือเพื่อเยียวยาเกษตรกรที่จะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าวล่วงหน้า ทั้งการสั่งผลิตต้นพันธุ์ ท่อนพันธุ์ โดยเฉพาะพืชผักสวนครัว อาทิ พริก มะเขือเปราะ มะเขือเทศ มะเขือยาว มะเขือพวง กะเพรา แมงลัก กระเจี๊ยบเขียว และไม้ผล เป็นต้น ไม้ยืนต้นเศรษฐกิจ อาทิ กล้วยน้ำว้า มะละกอทุเรียน กาแฟ เป็นต้น เพื่อให้เกษตรนำไปทดแทนต้นพันธุ์ที่ได้รับความเสียหาย ซึ่งเมื่อเหตุการณ์เบาบางลง น้ำลดลงพอสัญจรได้แล้วนั้น เกษตรกรสามารถเข้าไปขอรับพันธุ์พืชคุณภาพดีได้จากศูนย์ขยายพันธุ์พืชใกล้บ้านท่าน ทั้ง 10 ศูนย์ หรือแจ้งความจำนงค์ให้สำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้านท่านได้ทราบ เพื่อจัดหาและรวบรวมนำส่งให้ในภายหลัง ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรได้เตรียมต้นพันธุ์ ท่อนพันธุ์ ไว้อย่างเพียงพอกับความต้องการของเกษตรกรแล้ว รวมทั้งเชื้อราไตรโคเดอร์มาที่มีทั้งพร้อมใช้ และหัวเชื้อขยาย เกษตรกรสามารถมาขอรับได้จากสำนักงานเกษตรจังหวัดและศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช (ศทอ.) ทั้ง 9 ศูนย์ และนำไปใช้งาน เพื่อป้องกันเชื้อราให้กับต้นไม้ที่แช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานาน และหากไม่มั่นใจกับอาการของต้นพืช สามารถสอบถามปัญหาโรคพืชได้ที่คลินิกพืช สำนักงานเกษตรอำเภอ/จังหวัดเช่นกัน ซึ่งมีเจ้าหน้าที่พร้อมให้ความช่วยเหลือ นอกจากนี้ หากเครื่องมือทางการเกษตรได้รับความเสียหาย กรมส่งเสริมการเกษตรซึ่งได้พัฒนาสนับสนุนสร้างช่างเกษตรท้องถิ่น ภายใต้โครงส่งเสริมการใช้เครื่องจักรกลทางการเกษตรมาตลอดหลายปี จึงมีเกษตรกรช่างฝีมือที่มีความสามารถทั่วประเทศสามารถช่วยเหลือในเบื้องต้นให้กับพี่น้องเกษตรกรได้

      สำหรับเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติด้านพืช ยังคงเป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน .. 2562 หลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน .. 2563 และหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน .. 2564 ทั้งนี้ เกษตรกรต้องขึ้นทะเบียนเกษตรกร และปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตรก่อนเกิดภัย มีพื้นที่เสียหายจริง อยู่ในพื้นที่ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือฯ และช่วยเหลือไม่เกินครัวเรือนละ 30 ไร่ โดยมีอัตราดังนี้ ข้าว 1,340 บาทต่อไร่ พืชไร่ละพืชผัก1,980 บาทต่อไร่ ไม้ผลไม้ยืนต้นและอื่นๆ 4,048 บาทต่อไร่ โดยเรื่องการขอรับความช่วยเหลือนั้น มีระเบียบขั้นตอนอธิบายพอสังเขปได้ดังนี้ เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินแล้วเกษตรกรยื่นแบบขอรับการช่วยเหลือ (กษ 01) ซึ่งมีผู้ใหญ่บ้าน/กำนัน/อบต. หรือนายกเทศมนตรีตรวจสอบและรับรองตามสถานที่ที่กำหนด คณะกรรมการหมู่บ้านตรวจสอบ และรับรองความเสียหายนำรายชื่อเกษตรกรที่ผ่านการตรวจสอบแล้ว ไปติดประกาศคัดค้านตามสถานที่ที่กำหนด ไม่น้อยกว่า 3 วัน สำนักงานเกษตรอำเภอนำเสนอคณะกรรมการ .... พิจารณาให้ความช่วยเหลือ (วงเงินไม่เกิน 500,000 บาท) หากไม่เพียงพอ ให้สำนักงานเกษตรจังหวัดเสนอคณะกรรมการ .... พิจารณาให้ความช่วยเหลือ (วงเงินในอำนาจ 20 ล้านบาท) หรือหากไม่เพียงพอให้คณะกรรมการ .... พิจารณาให้ความเห็นชอบใช้เงินทดรองราชการ ในอำนาจปลัด กษ. (วงเงินในอำนาจ 50 ล้านบาท)

      อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ในทุกพื้นที่เข้าให้ความรู้ด้านการดูแลต้นพืช และพื้นที่เกษตรที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมภายหลังน้ำลด ซึ่งการดูแล บำรุง และรักษาตามชนิดพืช ตามความเหมาะสมของพื้นที่ได้อย่างถูกวิธีจะช่วยทำให้ต้นพืชได้รับการฟื้นฟูเร็วขึ้น และส่งผลดีต่อการผลิตในรอบถัดไป